บริการต่่างๆ

รูปแบบงาน บริการรับสกรีนเสื้อยืด และงานพิมพ์เสื้อ

    มีหลากหลายเทคนิค ในการพิมพ์ รวมถึงชนิดของสี ที่ทำให้เกิดเกิดลักษณะพิเศษเฉพาะของสีนั้นๆ เพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพ และเหมาะสมกับเนื้อผ้าทั้งจำนวนต้นทุนและราคา เราจะแบ่งประเภทงานสกรีนเสื้อเป็น 3 ประเภทหลักๆ 
ซึ่งมีความแตกต่างกันในด้านของลักษณะการสกรีน ดังนี้

1.ระบบซิลค์สกรีน (Silk Screen)

เป็นการสกรีนที่เหมาะกับ งานจำนวนมาก / ลายง่าย / สีน้อย / สกรีนบนเสื้อได้ทุกสี งานบล็อก ซิลค์สกรีน
เป็นระบบในการพิมพโดยต้องใช้บล็อคสกรีน 1 สี ต่อ 1 บล็อค 4 สี ก็ต้องใช้ 4 บล็อค ซึ่งเหมาะกับการพิมพ์เสื้อ สกรีนเสื้อจำนวนมาก
ข้อดี คือ
– ถ้างานมีปริมาณมาก ราคาพิมพ์สกรีนเสื้อต่อตัวจะค่อนข้างถูก
– สามารถพิมพ์ได้บนผ้าทุกชนิด รวมถึงวัสดุต่างๆ เช่น พิมพ์กสรีนลงบนไม้ MDF ไม้สัก เหล็ก PVC พลาสติคแทบทุกประเภท และอื่นๆ
– ขนาดของลายพิมพ์ ไม่ค่อยจำกัด แต่กรณีต้องใช้บล็อคขนาดใหญ่ จำนวนของชิ้นงาน ก็ควรจะมากตามไปด้วย มิฉะนั้น ราคาจะค่อนข้างสูง

เป็นระบบการสกรีนเสื้อโดยการทาลวดลายลงบนบล็อกที่ใช้สกรีนแล้วจึงนาสีมาพิมพ์ลวดลายลงบนเสื้ออีกที โดยต้องใช้บล็อคสกรีน 1 สี ต่อ 1 บล็อค ถ้า 4 สี ก็ต้องใช้ 4 บล็อค หลักการสกรีน ก็คือ ทำให้บล็อกสกรีนมีลวดลาย แล้วนำสีมาพิมพ์ผ่านลวดลายลงบนเสื้อ ก็จะได้เสื้อ หลักการนี้ถูกเอามาใช้หลายกระบวนการทั้งพิมพ์สิ่งพิมพ์ต่างๆ ซึ่งระบบซิลค์สกรีน (Silk Screen) เหมาะสำหรับ งานสายผลิต จำพวกขายส่ง ที่ต้องการจำนวนและต้องการประหยัดต้นทุน และงานที่ต้องการเทคนิคพิเศษต่างๆ เช่น งานสกรีน ฮาฟโทน (Halftone) , Cmyk , Puff (สีนูน) , Glitter (กากเพชร) และลักษณะงานอื่นๆ งานสกรีนจึงเหมาะสมที่สุดสำหรับ สกรีนเสื้อ ทั้งเสื้อสีเข้ม หรือเสื้อสีอ่อน

1.1 สกรีนสีน้ำ
สีน้ำจะเหมาะกับการลงผ้าขาวหรือผ้าสีอ่อน เนื่องจากสีน้ำจะซึมเข้าไปรวมกับสีเดิมของผ้าทำให้งานสกรีนนุ่มและสบายมือ ระบายความร้อนได้ดี เนี่องจากสีน้ำจะซึมเข้าไปรวมกับสีเดิมของผ้า เป็นสีเคมีที่ผลิตขึ้นมาโดยมีน้ำเป็นตัวทำละลาย ทำให้สามารถใช้งานได้สะดวกสีแห้งตัวได้เองที่อุณหภูมิห้อง ถ้าสีที่ผสมเสร็จแล้วเกิดการแห้งตัว สามารถใช้น้ำผสมเพื่อทำให้เหลวลงได้ สีประเภทนี้ไม่มีกลิ่นเหม็น เหมาะที่จะพิมพ์ลงบน ผ้าคอตต้อน100%( C20,C32,TC),ผ้าโพลีเอสเตอร์100%(TK,TTK,MICRO)เป็นต้น

1.2. สกรีน Plastisol
สกรีน Plastisol สีพลาสติซอลจะเหมาะกับการลงผ้าทุกสี ทั้งสีอ่อนและสีเข้ม สีพลาสติซอลจะมีเนื้อสีที่ทำให้งานสกรีนดูมีราคา เนื่องจากมีคุณสมบัติในการยึดเกาะบนพื้นผิววัสดุที่ดีและมีความเงางามสดใสของเนื้อสี เมื่อนำไปสกรีนลงบนเสื้อหรือผ้าผิวสัมผัสจะมีชั้นความหนาของลวดลายเคลือบอยู่บนเนื้อผ้าเช่นเดียวกับสียาง

1.3.สกรีนสีน้ำมัน 
สีน้ำมันเป็นสีที่มีโครงสร้างของน้ำมันเป็นหลัก มีกลิ่นค่อนข้างแรง หมึกจะแห้งตัวได้ที่อุณหภูมิห้อง เวลาหมึกแห้งตัวแล้ว จะต้องใช้น้ำมันผสมเท่านั้น และถ้าต้องการจะล้างสี จะต้องใช้น้ำมันล้างเช่นกัน เหมาะกับงานพิมพ์สกรีนบนผ้าที่ติดยากได้แทบทุกชนิด เช่น ผ้ากระเป๋า ผ้าใบ ผ้าร่ม ผ้าไนล่อน

1.4. สกรีนแบบสีนูน
การสกรีนนูนจะให้ลักษณะพื้นผิวที่หนาและสัมผัสได้ถึงเนื้อสี มีความนูนเป็นแบบ 3 มิติ ทำให้งานดูมีราคาเพิ่มขึ้น สามารถสกรีนสีนูนร่วมกันกับงานประเภทสีน้ำหรือสีพลาสติซอลได้

1.5.สกรีนสีจม 
สีสกรีนเสื้อแบบสีจม คุณสมบัติของสีสกรีนประเภทนี้ เนื้อสีจะมีความละเอียดสามารถซึมลงไปถึงเส้นใยผ้าและเนื้อสีจะมีความโปร่งใส เมื่อนำไปสกรีนลงบนเสื้อยืดลวดลายสกรีนจะให้ผิวสัมผัสที่เรียบจนแทบเป็น เนื้อเดียวกับเสื้อ

1.6.สกรีนแบบสีลอย
สีสกรีนเสื้อแบบสีลอย คุณสมบัติของสีลอยคือ เนื้อสีจะมีความละเอียดน้อยกว่าสีจม ทำให้เนื้อสีเกาะติดอยู่บนเส้นใยของผ้า เมื่อสกรีนลงเสื้อผิวสัมผัสจะให้ความรู้สึกถึงลวดลายที่มีความหนาขึ้นมาจาก เนื้อผ้า

1.7.สกรีนแบบสียาง
สีสกรีนเสื้อแบบสียาง สียางจะเหมาะกับการลงผ้าทุกสี ทั้งสีอ่อนและสีเข้ม สียางจะมีเนื้อสี ทำให้งานสีกรีนดูมีราคา แต่สียางเมือถูกสกรีน ลงบนผ้าแล้วจะสัมผัสได้ถึงชั้นของสีที่หนา ทำให้ระบายความร้อนได้ไม่ดี คุณสมับัติของสียางเนื้อสีจะมีความ ยืดหยุ่นสูงและมีความเงา ให้สีที่สด เมื่อสกรีนลงบนเนื้อผ้า เนื้อสีจะไปจับอยู่บนเส้นใยเช่นเดียวกับสีลอย ผิวสัมผัสจะมีชั้นความหนา(บาง)ของลายสกรีน และเมื่อลองดึงเนื้อผ้าเพื่อยืดลายสกรีนออก เนื้อสีจะยืดออกตามเนื้อผ้าเสมือนมีความยืดหยุ่นเป็นเนื้อเดียวกัน

1.8. สกรีนฟอยล์
การสกรีนฟอยล์ เป็นงานแนวแฟชั่นสวยงาม เป็นการสกรีนกาวลงบนเสื้อแล้ว รีดร้อนแผ่นฟอยล์ทับ งานจะเงาและดูมีราคา สามารถสกรีนฟอยล์ร่วมกันงานประเภทสีน้ำ หรือสี plastisol ได้

 

ข้อดีของระบบซิลค์สกรีน (Silk Screen)
1.เหมาะกับการสกรีนจำนวนมากๆ แต่ไม่เน้นความละเอียดสูง เพราะราคาถูก และจะได้สีสด และคงทนมาก
2.สามารถพิมพ์ได้บนผ้าทุกชนิด รวมถึงวัสดุต่างๆ เช่น พิมพ์กสรีนลงบนไม้ MDF ไม้สัก เหล็ก PVC พลาสติคแทบทุกประเภท และอื่นๆ
3.ขนาดของลายพิมพ์ ไม่ค่อยจำกัด แต่กรณีต้องใช้บล็อคขนาดใหญ่ จำนวนของชิ้นงาน ก็ควรจะมากตามไปด้วย มิฉะนั้น ราคาจะค่อนข้างสูง
4.ให้สีที่สดใส และติดทน นานกว่างานพิมพ์ประเภทอื่นๆ
ข้อเสียของระบบซิลค์สกรีน (Silk Screen)
1.ความละเอียดของงาน และ ความสะอาดของเสื้อ เพราะว่าการพิมพ์ผ่านตาข่ายนั้นขนาดไม่เล็กเกินไปทำให้เป็นรอยหยึกหยักภาพไม่คมได้ 
2.ไม่สามารถสกรีนตัวหนังสือเล็กๆได้ งานสกรีนบางทีอาจจะขาดหายไม่เท่ากัน ที่เป็นเช่นนี้เพราะข้อจำกัดของสีและตาข่ายบล็อกสกรีน 
3.เรื่องความสะอาดของเสื้อ เนื่องจากการสกรีนต้องวางเสื้อบนโต๊ะซึ่งต้องติดกาวเอาไว้เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค หรือหากใช้กาวไม่ดีกาวก็จะติดเสื้อได้
4.ยิ่งจำนวนสีในงานสกรีนมีมากเท่าไหร จำนวนในการทำบล็อคสกรีนยิ่งมากตามจำนวนสีที่ต้องการสกรีน
5.ไม่เหมาะกับการทำเสื้อยืดจำนวนน้อย เพราะอาจเป็นภาระต้นทุนของผู้ผลิต
6.เป็นงานที่ต้องใช้ทักษะ ฝีมือในการแกะบล๊อคสกรีน และปาดสีสกรีนลงบนผ้า

2. ระบบดิจิตอลแบบ DTG (Direct To Garment)
เป็นการสกรีนโดยใช้เครื่องพิมพ์เฉพาะ พิมพ์หมึกลงบนเสื้อโดยตรง เหมาะกับ งานไม่จำกัดจำนวน / ลายยาก / สีเยอะ กราฟฟิก / ทำ 1 ตัว เหมาะมาก

DTG (Direct To Garment) คือ กระบวนที่ใช้หลักการนำหมึก Pigment มาสกรีนลงบนเสื้อโดยตรง ด้วยเครื่องพิมพ์ผ้าโดยเฉพาะ หลักการการทำงาน นำเสื้อไปวางบนแท่นพิมพ์แล้วสั่งพิมพ์ จากนั้นนำมาอบสีให้แห้ง งานพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดิจิตอล(Digital printing)
เป็นการพิมพ์ผ้าโดยใช้เครื่องพิมพ์ที่อาศัยหลักการเดียวกับการพิม์กระดาษ ด้วยเครื่อง Printer ทั่วไป เพียงแต่เปลี่ยนจากกระดาษมาเป็นพิมพ์ตรงลงบนเนื้อผ้า ซึ่งกระบวนการพิมพ์ผ้าด้วยเครื่องพิมพ์ดิจิตอลปัจจุบันมีทั้งที่ใช้ในโรงงาน อุตสาหกรรมและใช้พิมพ์เสื้อสำเร็จรูป ซึ่งการพิมพ์โดยด้วยเครื่องดิจิตอลจำเป็นต้องนำผ้าไปผ่านกระบวนการ Pre-Treat ก่อนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการพิมพ์และต้องมีการอบเคลือบสีหลังจากการพิมพ์ (finishing)เพื่อให้หมึกพิมพ์ติดทนบนเนื้อผ้า
ข้อได้เปรียบ คือ
-พิมพ์ลงบนเนื้อผ้าCOTTON 100% ได้
-พิมพ์งานจำนวนน้อยได้ โดยไม่ต้องอัดบล็อคสกรีน
-ลายสกรีนเสื้อจะสีเดียวหรือหลายสี ก็ราคาเท่ากัน
ข้อเสีย คือ
-ถ้าพิมพ์งานปริมาณมาก ราคาจะแพงกว่าการพิมพ์ผ้า แบบ ซิลค์สกรีน
-ขนาดพิมพ์ค่อนข้างจำกัด ไม่เกิน A3

งานพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดิจิตอล (Digital Printing) แบบ DTG (Direct To Garment) เป็นระบบการสกรีนด้วยขั้นตอนที่คล้ายกับการพิมพ์กระดาษเพียงแต่เปลี่ยนจากกระดาษเป็นเสื้อเท่านั้นเอง ด้วยการทางานของเครื่องพิมพ์ดิจิตอลทาให้เหมาะกับงานพิมพ์ที่มีรายละเอียด ให้สีสันคมชัด รายละเอียดสูงถึง 1200 dpi (Silk Screen ปกติ 120 dpi) ซึ่งกระบวนการพิมพ์ผ้าด้วยเครื่องพิมพ์ดิจิตอลปัจจุบันมีทั้งที่ใช้ในโรงงาน อุตสาหกรรมและใช้พิมพ์เสื้อสำเร็จรูป ซึ่งการพิมพ์โดยด้วยเครื่องดิจิตอลจำเป็นต้องนำผ้าไปผ่านกระบวนการ Pre-Treat ก่อนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการพิมพ์ และต้องมีการอบเคลือบสีหลังจากการพิมพ์ (finishing)เพื่อให้หมึกพิมพ์ติดทนบนเนื้อผ้า

ข้อดีของระบบดิจิตอลแบบ DTG 

1.สกรีนได้หลายสี หมึกซึมไปในเส้นใยผ้า เหมาะกับการสกรีนลงบนเสื้อ Cotton โดยเฉพาะ สามารถพิมพ์ผ้าเข้มหรือผ้าดำได้ โดยมีกระบวนการเตรียมงานและเครื่องพิมพ์รองพื้นด้วยหมึกขาวก่อน ภาพสวย สกรีนคมชัด
2.รูปถ่ายหรือภาพเหมือนจริง เป็นกระบวนการสกรีนเสื้อที่สกรีนภาพออกมาได้ดีที่สุดแล้วในปัจจุบันนี้ 
3.พิมพ์ลงบนเนื้อผ้า Cotton 100% เท่านั้น และสกรีนบนเสื้อได้ทุกสี
4.พิมพ์งานจำนวนน้อยได้ โดยไม่ต้องอัดบล็อคสกรีน
5.ลายสกรีนเสื้อจะสีเดียวหรือหลายสี ก็ราคาเท่ากัน
6.ปัจจุบันได้รับความนิยมมาก เนื่องจากได้ภาพเสมือนจริงตามไฟล์ เช่น ภาพคน ภาพวิว มีความคมชัดมาก 
ข้อด้อยของระบบดิจิตอลแบบ DTG 
1.เครื่องพิมพ์มีราคาแพงมาก และต้องการการบำรุงรักษามาก 
2.ต้นทุนหมึกสูง ต้องใช้ทักษะในการทำงานสูง 
3.หากผู้ใช้ง่านไม่มีความเข้าใจในการเตรียมงานจะทำให้งานพิมพ์ออกมาไม่ดีพอ
4.ถ้าพิมพ์งานปริมาณมาก ราคาจะแพงกว่าระบบซิลค์สกรีน (Silk Screen) และ ระบบรีดร้อน (Heat Transfer)
5.ขนาดพิมพ์มีข้อจำกัด คือพิมพ์ได้ไม่เกินขนาด 50 cm x 50 cm



3. ระบบรีดร้อน (Heat Transfer)
ระบบรีดร้อน (Heat Transfer) จะเป็นการสกรีนโดยใช้ระบบการพิมพ์ลวดลายด้วยเครื่องพิมพ์ Ink Jet หรือ Laser ลงบนกระดาษพิเศษที่เรียกว่า Transfer paper

แล้วนำไปกดด้วยเครื่องรีดความร้อนเพื่อให้หมึกระเหิดย้อมติดไปบนเสื้อโดยมีแผ่นฟิลม์บนกระดาษเป็นตัวเคลือบยึดเกาะลวดลายกับตัวเสื้ออีกชั้นนึง

ข้อดีของระบบรีดร้อน (Heat Transfer)
1.เหมาะสาหรับงานสกรีนที่ต้องการความละเอียด เพราะสามารถสกรีนได้หลากหลายสี มากกว่าระบบซิลค์สกรีน (Silk Screen) 
2.พิมพ์งานจำนวนน้อยได้ โดยไม่ต้องอัดบล็อคสกรีน
3.ลายสกรีนเสื้อจะสีเดียวหรือหลายสี ก็ราคาเท่ากัน 
ข้อด้อยของระบบรีดร้อน (Heat Transfer)
1.กระดาษ Transfer สามารถหลุดลอกออกได้ หากวัสดุไม่ดี
2. เนื้องานจะมีความแข็งกระด้าง และมีโอกาสที่สีที่สกรีนจะหลุดลอก หากเลือกวัสดุไม่ดี
3.ถ้าพิมพ์งานปริมาณมาก ราคาจะแพงกว่าระบบซิลค์สกรีน (Silk Screen)
4.วัสดุที่พิมพ์ ค่อนข้างจำกัด ผ้าที่ใช้ควรเป็นตระกูลโพลีเอสเตอร์ ไนล่อน หรือใยสังเคราะห์อื่นๆ
5.ขนาดพิมพ์ค่อนข้างจำกัด ไม่เกิน 38 cm x 38cm 
สำหรับการสกรีนแบบกระดาษ Heat Tranfer จึงแบ่งย่อยได้เป็น 2 แบบ

3.1. การสกรีนแบบซับลิเมชั่น (Dye-Sublimation)
เป็นการสกรีนที่เหมาะกับ งานทุกจำนวน / ลายเยอะ / สีเยอะ กราฟฟิก / สกรีนได้เฉพาะเสื้อสีอ่อน sublimation
อาศัยหลักการระเหิดของหมึก (Dye sublimation) การพิมพ์วิธีนี้จะใช้การพิมพ์ลายลงบนกระดาษโฟโต้อิงค์เจ็ทที่ใช้สำหรับพิมพ์ ภาพถ่ายทั่วไป โดยใช้หมึกดูราซับ (Durasub) ซึ่งเป็นหมึกประเภทที่มีคุณสมบัติในการระเหิดของสีเมื่อโดนความร้อน (Sublimation Ink) ส่วนเครื่องพิมพ์จะต้องเป็นเครื่องอิงค์เจ็ทที่รองรับหมึกที่มีความเข้มข้น สูงอย่าง Sublimation ink เมื่อพิมพ์ลงบนกระดาษแล้วนำไปกดทับด้วยเครื่องรีดความร้อนหมึกจะระเหิด กลายเป็นไอเกาะติดและย้อมลงไปบนเส้นใยผ้าเกิดเป็นลวดลาย โดยหมึกประเภทนี้จะมีคุณสมบัติทนต่อการซักล้างและทนแดด เหมาะกับการพิมพ์ผ้าที่มีสีอ่อนและผ้าใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์หรือไนล่อน
ข้อดี คือ
-พิมพ์งานจำนวนน้อยได้ โดยไม่ต้องอัดบล็อคสกรีน
-ลายสกรีนเสื้อจะสีเดียวหรือหลายสี ก็ราคาเท่ากัน
ข้อเสีย คือ
– พิมพ์ได้เฉพาะผ้าใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์
-ขนาดพิมพ์ค่อนข้างจำกัด ไม่เกิน A3

Sublimation คือ การพิมพ์ภาพลงบนกระดาษด้วยน้ำหมึก Sublimation แล้วน้ำมารีดร้อนลงบนเสื้อโดยใช้เครื่องรีดร้อน (Heat Press) กดทับเพื่อถ่ายเทน้ำหมึกที่อยู่บนกระดาษลงไปในเนื้อผ้า ดังนั้นเสื้อที่สกรีนด้วยวิธีนี้จึงสามารถซักได้เป็นสิบๆครั้งโดยที่สีไม่หลุดล่อน และสามารถใช้เตารีดรีดลงบนรูปภาพที่สกรีนได้โดยตรงโดยไม่ติดเตารีด

Sublimation เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด กระบวนการสกรีนเริ่มโดยการสั่งงานพิมพ์ลงบนกระดาษ Sublimation จากนั้นนำกระดาษที่พิมพ์ลายสกรีนไปวางบนเสื้อแล้วรีดด้วยเตารีด หรือเครื่องรีดร้อน เนื่องจากความร้อน หมึกที่อยู่บนกระดาษจะระเหิดไปเกาะบนเสื้อ

การพิมพ์แบบ Sublimation จะติดได้ดีบนเนื้อผ้าที่มีส่วนผสมของใยสังเคราะห์ (Polyester) เช่น TK, TC, ชีฟอง, ซาติน, นาโน, สเปนแดกซ์ และอื่นๆ แต่จะไม่สามารถใช้ได้กับผ้าที่เป็นใยธรรมชาติ หรือ Cotton 100% ซึ่งในปัจจุบันมีการพัฒนาผ้าที่ผสมใยสังเคราะห์ต่างๆให้ผู้บริโภคสวมใส่สบายมากยิ่งขึ้นเหมือนสวมใส่ผ้าใยธรรมชาติ แต่ต้นทุนถูกลง งาน Sublimationจึงเป็นที่นิยมในปัจจุบัน

===จุดเด่นของ Sublimation===

1.สกรีนได้หลายสี ต้นทุนถูก หมึกซึมไปในเส้นใยจับแล้วไม่รู้สึกถึงสีสกรีน และไม่ต้องใช้แรงงานในการสกรีน ใช้เพียง 1-2 คนก็สามารถทำงานสกรีนเป็น 1000 ตัวได้
2.พิมพ์งานจำนวนน้อยได้ โดยไม่ต้องอัดบล็อคสกรีน
3.ลายสกรีนเสื้อจะสีเดียวหรือหลายสี ก็ราคาเท่ากัน
===จุดด้อยของ Sublimation===

1.พิมพ์ได้เฉพาะผ้าใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์
2.ไม่สามารถทำงานบนเสื้อสีเข้มได้ ต้องทำงานบนเสื้อสีอ่อนเท่านั้น และเสื้อที่ใช้ต้องเป็นเสื้อที่มีส่วนผสมของ Polyester มากกว่า Cotton เพื่อให้สีไปยึดติดได้ง่าย เช่น Tc หรือ Tk
3.ขนาดพิมพ์ค่อนข้างจำกัด ไม่เกิน A3
4.เหมาะกับงานพิมพ์ภาพเหมือนหรืองานที่ต้องมีสีสรรค์ ในภาพเยอะ เหมาะกับงานจำนวนน้อย
5.สีที่ผ่านการรีดร้อน ความสดของสีจะลดลง 5-10% ขึ้นอยู่กับ สีที่ใช้และกระดาษพิมพ์ และเมื่อเสื้อผ่านการซักไปสักระยะ สีที่พิมพ์บนเสื้อจะลดลง หรือหมอง ทุกครั้งที่ผ่านการซัก 
3.2.การสกรีนเสื้อ Flex Transfer (Poly Flex Transfer)
เป็นการสกรีนที่เหมาะกับงานทุกจำนวน / สีเดียว / สกรีนได้ทุกสี / 1 ตัวเหมาะมาก โพลีเฟล็ก
อาศัยกาวเป็นตัวยึดเกาะ โดยการพิมพ์ลงบนกระดาษหรือฟิลม์โดยมีกาวเคลือบ เมื่อนำไปรีดความร้อนกาวจะเป็นตัวยึดเกาะระหว่างสีกับเนื้อผ้า ซึ่งการพิมพ์โดยวิธีนี้ถูกนำไปใช้ในหลายประเภทงานพิมพ์เนื่องจากหมึกพิมพ์ สามารถใช้ได้กับหลากหลายชนิดงานพิมพ์ เช่น งานพิมพ์ออฟเซต , งานพิมพ์กราเวียร์, งานพิมพ์สกรีน และ งานพิมพ์อิงค์เจ็ต ซึ่งแต่ล่ะประเภทงานก็มีความแตกในเรื่องของความละเอียดความคมชัดของงานและ ปริมาณที่จะพิมพ์ โดยในงานพิมพ์อิงค์เจ็ตจะใช้กระดาษทรานเฟอร์ซึ่งเป็นกระดาษชนิดพิเศษที่มี การเคลือบกาว แล้วใช้หมึกพิมพ์อิงค์เจ็ทธรรมดาหรือหมึกกันน้ำ(ดูราไบท์)พิมพ์ลงบนกระดาษ ทรานเฟอร์ด้วยเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท แล้วจึงนำไปรีดด้วยเครื่องรีดความร้อน กาวจะเป็นตัวยึดเกาะระหว่างหมึกพิมพ์กับเส้นใยของผ้า ซึ่งวิธีนี้จะเหมาะกับผ้าการพิมพ์ลงบนผ้า cotton 100 %
ข้อดี คือ
-พิมพ์ลงบนเนื้อผ้าได้ทุกชนิด
-พิมพ์งานจำนวนน้อยได้ โดยไม่ต้องอัดบล็อคสกรีน
-ลายสกรีนเสื้อจะสีเดียวหรือหลายสี ก็ราคาเท่ากัน
ข้อเสีย คือ
-ถ้าพิมพ์งานปริมาณมาก ราคาจะแพงกว่าการพิมพ์ผ้า แบบ ซิลค์สกรีน
-ขนาดพิมพ์ค่อนข้างจำกัด ไม่เกิน A4

เป็นการสกรีนโดย การทำลวดลายในคอมพิวเตอร์ แล้วใช้เครื่องตัดสติกเกอร์ตัด แผ่น Flex เหมาะกับงานสกรีนตัวอักษรชื่อ หรือตัวเลข สกรีนได้ทั้งเสื้อยืด และเสื้อกีฬา แผ่น Flex คล้ายๆแผ่นสติ๊กเกอร์ มีสีเดียวอาจเป็นสีดำ สีทอง หรือสีเงิน แล้วใช้เครื่องรีดอัดความร้อนเพื่อให้แผ่น Flex ละลายไปติดลงบนเสื้อ

โพลีเฟล็กซ์ (Poly Flex) อาศัยกาวเป็นตัวยึดเกาะ โดยการพิมพ์ลงบนกระดาษหรือฟิล์มโดยมีกาวเคลือบ ก่อนจะนำไปรีดต้องแกะด้านกาวออกก่อนเหมือนแกะสติกเกอร์ เมื่อนำไปรีดร้อนกาวท่ี่อยู่บนกระดาษ ส่วนกระดาษที่ใช้จะแตกต่างกันเพราะมันจะเคลือบกาวไว้เมื่อโดนความร้อนจากเครื่องรีด กระดาษนั้นจะติดกับเสื้อนั่นเอง เหมือนกับเฟล็กติดเสื้อฟุตบอล

เมื่อนำไปรีดความร้อนกาวจะเป็นตัวยึดเกาะระหว่างสีกับเนื้อผ้า ซึ่งการพิมพ์โดยวิธีนี้ถูกนำไปใช้ในหลายประเภทงานพิมพ์เนื่องจากหมึกพิมพ์ สามารถใช้ได้กับหลากหลายชนิดงานพิมพ์ เช่น งานพิมพ์ออฟเซต , งานพิมพ์กราเวียร์, งานพิมพ์สกรีน และ งานพิมพ์อิงค์เจ็ต ซึ่งแต่ล่ะประเภทงานก็มีความแตกในเรื่องของความละเอียดความคมชัดของงานและ ปริมาณที่จะพิมพ์ โดยในงานพิมพ์อิงค์เจ็ตจะใช้กระดาษทรานเฟอร์ซึ่งเป็นกระดาษชนิดพิเศษที่มี การเคลือบกาว แล้วใช้หมึกพิมพ์อิงค์เจ็ทธรรมดาหรือหมึกกันน้ำ(ดูราไบท์)พิมพ์ลงบนกระดาษ ทรานเฟอร์ด้วยเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท แล้วจึงนำไปรีดด้วยเครื่องรีดความร้อน กาวจะเป็นตัวยึดเกาะระหว่างหมึกพิมพ์กับเส้นใยของผ้า ซึ่งวิธีนี้จะเหมาะกับผ้าการพิมพ์ลงบนผ้า cotton 100 %

"Sublimation กับ Flex Transfer " ซึ่งจริงๆ แล้วมันแตกต่างกัน Heat transfer แปลตามชื่อก็หมายถึงการแลกเปลี่ยนความร้อน แต่ในงานสกรีนคือ การทำให้สีติดโดยใช้การแลกเปลี่ยนความร้อน ซึ่งยังแตกย่อยอีกหลายกระบวนการ แต่ที่นิยมในไทยจะเป็นการพิมพ์ลงกระดาษที่มีกาวเคลือบไว้ด้านหลัง

 

โพลีเฟล็กซ์ ทรานเฟอร์ (Poly Flex Tranfer)

Poly Flex คือ แผ่นยางรีดหรือ PVC มีองค์ประกอบเดียวกันกับพลาสติกซึ่งเมื่อถูกความร้อนสูง จะหลอมละลาย และเมื่อนำไปอยู่ภายใต้ภาวะแรงกดที่เหมาะสมบนเนื้อผ้าเนื้อยางบางที่เป็นผิวที่สัมผัสอยู่กับเส้นใยผ้าก็จะหลอมละลายยึดติดไปบนเส้นใยผ้า

ผิวสัมผัสด้าน หากใช้ยางรีดที่หนาผิวสัมผัสก็จะนูนมีน้ำหนักไม่เรียบเนียนไปกับผิวของเสื้อผ้า ในเรื่องการทนต่อการซักล้างถือว่าอยู่ในระดับดีเยี่ยม

ข้อจำกัด โพลีเฟล็กซ์ จะมีสีสัน ที่ตายตัว จะสามารถพิมพ์ได้เป็นสีแบบ solid color ตามสีของโพลีเฟล็กซ์ที่มี และไม่เหมาะกับงานที่มีลวดลายละเอียด หรือมีลวดลายซับซ้อน เนื่องจากความยุ่งยากในการทำไดคัท และการสกรีน

 

===วิธีการนำมาใช้งาน====

สามารถตัดตัดด้วยคัตเตอร์ หรือเครื่องตัดสติกเกอร์เป็นตัวอักษร ซึ่งการสกรีนแบบทรานเฟอร์ด้วยวิธีนี้จะเหมาะกับการงานสกรีนตัวอักษรลงบนเสื้อ หรือลายกราฟิกที่มีขนาดใหญ่ ๆ ไม่ยากเกินไปสำหรับการไดคัท แตกต่างกับประเภทงานแบบการพิมพ์ภาพลงเสื้อด้วยเครื่องพิมพ์แล้วนำไปกดหรือทรานเฟอร์ด้วยความร้อนซึ่งวิธีนี้จะเหมาะกับงานภาพถ่ายหรืองานกราฟิกไม่จำกัดสีเสียมากกว่า

===ชนิดของแผ่นโพลีเฟล็กซ์ (Poly Flex)====

1.โพลีเฟล็กซ์งานตัด – เป็นสีตาย (Solid Color) เป็นส่วนมาก แต่จะมีข้อเด่นที่เหนือกว่างานสกรีนลักษณะอื่นๆ คือสามารถทำ ผิวสัมผัสพิเศษ เช่น เนื้อโลหะ เนื้อกำมะหยี่ กากเพชร เพิ่มความโดดเด่นให้กับชิ้นงาน และเป็นลักษณะงานที่งานสกรีนลักษณะอื่นทำไม่ได้, เป็นสีพิเศษ เช่นสีสะท้อนแสง ที่สามารถสะท้อนแสงไฟได้, ความหนาแบบพิเศษ ทำให้มีลักษณะเป็นลายนูนสูงขี้นมาจากเนื้อผ้า
2.โพลีเฟล็กซ์งานพิมพ์ – สามารถนำมาพิมพ์ด้วยหมึก Eco-Solvent ทำให้สามารถทำเป็นลวดลายหรือรูปต่างๆได้ตามต้องการ แล้วนำไปติดด้วยสติกกี้ ลอกแผ่นเฟล็กซ์มาวางบนเสื้อผ้า ก่อนทำการกดทับ
===จุดเด่นของโพลีเฟล็กซ์ (Poly Flex)===

1.สามารถสกรีนบนเสื้อเข้มได้ หรือเสื้อ Cottonได้
2.พิมพ์ลงบนเนื้อผ้าได้ทุกชนิด
3.พิมพ์งานจำนวนน้อยได้ โดยไม่ต้องอัดบล็อคสกรีน
4.ลายสกรีนเสื้อจะสีเดียวหรือหลายสี ก็ราคาเท่ากัน 
===จุดด้อยของโพลีเฟล็กซ์ (Poly Flex)===

1.ภาพเป็นกรอบสี่เหลี่ยม หากจะตัดให้ได้รูปทรงต้องนำมาตัดด้วยเครื่องตัดสติกเกอร์อีกที อีกทั้งเสื้อสกรีนแบบนี้จะร้อนและหนักกว่า เพราะเหมือนมีกระดาษหนาๆไปแปะบนเสื้อ
2.ถ้าพิมพ์งานปริมาณมาก ราคาจะแพงกว่าการพิมพ์ผ้า แบบ ซิลค์สกรีน
3.ขนาดพิมพ์ค่อนข้างจำกัด ไม่เกิน A4

Visitors: 3,331,556