ประวัติการผลิตเสื้อยืด

 ประวัติต้นกำเนิดการ ผลิตเสื้อยืด ที่มีครั้งแรกในโลก

   ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับต้นกำเนิดการ ผลิต เสื้อยืดที่มีครั้งแรกในโลก จากทุกสถานที่ทั่วโลก ต่างสันนิษฐานกันต่างๆมากมาย อย่างเช่น ในสมัยก่อนยุคนึง คนงาน อเมริกันกับ ทหาร ฝรั่งเศสเคยเถียงกันว่า ใครกันที่เป็นคนทำให้เสื้อยืดแพร่หลาย ฝั่งอเมริกันก็บอกว่าเขานี่แหละ ที่ทำให้ เสื้อยืด เป็นที่รู้จัก รวมถึง การสกรีนเสื้อยืด เพราะอุตสาหกรรมหนังและเพลง และการ รับสกรีนเสื้อยืด ที่เริ่มมีในยุค60 แต่คนฝรั่งเศสก็บอกว่าเขาต่างหากที่เป็นต้นไอเดียเสื้อชั้นในของผู้ชาย ที่ทหาร จีไอและเหล่าทหารอเมริกัน เอาไปเลียนแบบในยุคสงครามโลก จนกลายมาเป็น เสื้อยืดสกรีน อย่างที่เห็นในปัจจุบัน
  แต่จากการที่แอดมิน ได้ศึกษาโดยละเอียด แนวความคิดการ ผลิตเสื้อยืดสกรีน หรือ ทีเชิร์ต นั้น เป็นการพัฒนามาจากเสื้อชั้นใน โดยเสื้อทั่วไปนั้น เสื้อชั้นใน เท่าที่ลองค้นคว้ามา มีมาตั้งแต่ก่อนยุคอียิปต์โบราณ ดังจะเห็นหรือพบจากซากมัมมี่โบราณ หรือในหนังต่างๆที่เราเคยดู เพียงแต่เสื้อชั้นในสมัยก่อน จะมีความแข็งกระด้างอยู่มาก และค่อยๆพัฒนาออกไปอีกหลายรูปแบบ


และตามหลักฐานที่เคยค้นพบ เสื้อยืด เป็นลักษณะการตัดเย็บ ของชุดเดรส ที่มีชื่อว่า ทาร์คาน เดรส และได้รับการขนานนามว่าเป็นเสื้อยืดชั้นใน ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก หลังจากที่ทางด้านของทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ของประเทศอังกฤษ นำโดยไมเคิล ดี ได้นำเอาตัวอย่างของ ชุดเดรส ชุดนี้ไปทำการตรวจสอบอายุ ด้วยวิธีการเรดิโอคาร์บอนในแลบทดลอง ทำให้พบว่า ชุดเดรสผ้ายืด เสื้อใน ชุดนี้มีอายุกว่า 3,500 ปีก่อนคริสตกาล หรือราว 5,500 ปีที่แล้ว หรืออยู่ในยุคของราชวงศ์แรกเริ่มของประเทศอียิปต์ หรืออาจจะก่อนหน้านั้น
ซึ่งจากการตรวจสอบ เครื่องแต่งกาย อันเก่าแก่นี้ ได้ถูก ทอ ขึ้นจาก ป่านลินิน โดยทีมวิจัยยังพบว่ามีแถบสีเทาที่เป็น สีธรรมชาติ อยู่บนชุด เสื้อใน รัดรูป ที่บางส่วนยังคงหลงเหลืออยู่ รวมไปถึงบริเวณแขนทั้งสองข้างมีการจับจีบเป็นสัน ขณะที่ชายด้านล่างนั้นเปื่อยยุ่ยทำให้ไม่รู้ว่าความยาวที่แท้จริงของชุดนี้มีเท่าไหร่กันแน่ โดยทีมวิจัยนั้นเชื่อว่า ชุดเดรสเก่า แก่ชุดนี้น่าจะเป็นของคนช่วง วัยรุ่น ที่มีขนาดลำตัวเล็กกว่าผู้ใหญ่ทั่วไป และมีลักษณะ ยืด หยุ่นคล้ายกับ เสื้อยืด ในปัจจุบัน
ปัจจุบัน ชุดเสื้อยืด ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกชุดนี้ จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์โบราณคดีอียิปต์เพทรีของมหาวิทยาลัยแห่งลอนดอน (ยูซีแอล) นับเป็นสมบัติที่ล้ำค่ามากๆ เพราะ เสื้อยืดซับใน ชิ้นนี้นั้น ถือเป็นสิ่งของเก่าแก่ที่เหลือรอดจากยุคโบราณน้อยมาก การตรวจสอบอายุในครั้งนี้ทำให้ทราบว่านี่อาจจะเป็นต้นกำเนิด สิ่งทอ ที่คล้าย เสื้อยืดมาก ที่สุด และที่เก่าแก่ที่สุดในโลกเท่าที่มีการค้นพบอีกด้วย


    ต่อมา นักโบราณคดีจากมหาวิทยาลัยอินสบรูค ประเทศออสเตรีย ได้พบ เสื้อ ชั้นในผู้หญิง ที่ทำด้วยผ้าลินิน 4 ตัว ในปราสาทเก่าแก่แห่งหนึ่งของออสเตรีย เชื่อว่าชุดชั้นในนี้จะมีอายุไม่ต่ำกว่า 600 ปี


โดย เสื้อ ชั้นในดังกล่าว ถูกค้นพบในปราสาทเลมเบิร์ก ในแคว้นไทรอล ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทางด้าน แฟชั่น ประหลาดใจมากกับการค้นพบครั้งนี้ เนื่องจากก่อนหน้านี้เชื่อกันว่า เพิ่งจะมีเสื้อชั้นในเกิดขึ้นในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น โดยเสื้อชั้นในเก่าแก่ที่สุดของโลกชุดนี้ ถูกค้นพบตั้งเมื่อ 4 ปีที่แล้ว แต่เพิ่งได้รับการเปิดเผย หลังจากมีการวิจัยและทดสอบด้วยคาร์บอน ทำให้แน่ใจว่า เสื้อชั้นในที่พบเป็นของแท้และมีอายุเก่าแก่นานกว่า 600 ปีจริง สิ่งที่ทำให้นักโบราณคดีและผู้เชี่ยวชาญทางด้านแฟชั่นประหลาดใจ คือ ชุดชั้นในที่พบมีลักษณะคล้ายกับชุดชั้นในปัจุจบัน และยังมีการตัดเย็บมาจากผ้าลินิน มีสายพาดที่บ่า และน่าจะมีสายคาดด้านหลังเหมือนกับชุดชั้นใน ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ อีกทั้งมีการประดับตกแต่งด้วยลูกไม้และเครื่องประดับชนิดอื่นอย่างประณีต

ทำให้เชื่อว่า ชุดชั้นในอาจจะ ถือกำเนิดขึ้นมาก่อนเสื้อรัดรูป จากนั้นจึงวิวัฒนาการกลายมาเป็นชุดชั้นในแบบในยุคปัจจุบัน โดยมหาวิทยาลัยกล่าวว่า ชุดชั้นในทั้ง 4 ชุด เป็นส่วนหนึ่งของชิ้นส่วนสิ่งทอที่ค้นพบกว่า 2,700 ชิ้น บ้างก็เป็นผ้าลินิน หรือไม่ก็ลินินผสมกับผ้าฝ้าย ที่ถูกพบปะปนกับดินโคลน เศษฟาง และชิ้นส่วนหนังสัตว์
ทั้งนี้ จากภาพเขียนที่ปรากฏในยุคเดียวกัน กลับไม่มีภาพใดที่แสดงว่าสตรีได้สวมชุดชั้นในหรือไม่ และการค้นพบครั้งนี้ ถือเป็นการค้นพบชิ้นส่วนของประวัติศาสตร์การแต่งกายของมนุษย์อีก1อย่างที่ขาดหายไปจากประวัติศาสตร์ เพราะก่อนหน้านี้ เชื่อกันว่าผู้หญิงเริ่มสวมเครื่องนุ่งห่มที่มีลักษณะคล้ายบราในราวปลายยุค 1800 และชุดชั้นในสมัยใหม่เริ่มมีการสวมใส่อย่างแพร่หลายในต้นยุค 1900 ซึ่งเชื่อว่าได้รับการประดิษฐ์
โดย แมรี เฟลพ์ จาคอบ สาวสังคมชาวนิวยอร์ก ซึ่งไม่ชอบใจที่ต้องสวมชุดโดยที่ต้องใช้โครงแบบสุ่ม
นอกจากนั้น ยังมีการค้นพบสิ่งทอที่มีลักษณะคล้ายกางเกงชั้นในของผู้หญิง แต่ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าเป็นกางเกงชั้นในของผู้ชาย เนื่องจากในสมัยนั้น ผู้หญิงจะไม่สวมกางเกงชั้นใน อีกทั้งกางเกงชั้นใน
ยังถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของการมีอำนาจเหนือกว่าและพลังของเพศชาย
จนกระทั่งในต้นศตวรรษที่ 19 หรือราวปี 1910 ต้นกำเนิดของทีเชิร์ตก็ได้เกิดขึ้นเป็นรูปร่างครั้งแรก โดยมีการอ้างสถานที่เกิดอย่างน้อยๆ ก็ในแคลิฟอร์เนีย และ สหราชอาณาจักร ในช่วงราวปี 1913 ถึง 1948 ที่ทำการซื้อขายข้ามทวีปกัน ซึ่งในช่วงนั้นได้มีการพัฒนาไปอย่างช้า ๆ เพราะยังไม่เป็นที่นิยมมากมายนัก จากข้อมูลหลาย ๆ แห่ง บางแหล่ง มีการอ้างว่า สถานที่ ๆ เป็นต้นกำเนิดแนวความคิดของทีเชิร์ตจริง ๆ เห็นจะเป็น สหราชอาณาจักร โดยสหรัฐอเมริกานำไปพัฒนาต่อ
คือระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อทหารอเมริกัน ได้สังเกตว่า ทหารยุโรปได้ใส่เสื้อในจากผ้าฝ้ายหรือคอตตอน ที่เบาสบาย ในขณะที่ทหารอเมริกันเปียกเหงื่อกับชุดที่ทำจากขนสัตว์
ตั้งแต่นั้นมาพวกเขาก็ได้เปลี่ยนวัสดุมาใช้ผ้าฝ้าย ในการตัดเย็บเสื้อซับในแทน ซึ่งสะดวกสบายขึ้นและได้รับความนิยมในหมู่ชาวอเมริกัน

เพราะเนื่องจากรูปลักษณ์ของเสื้อ
ที่คล้ายกับตัว T จึงได้เรียกว่าเสื้อชนิดนี้ว่า เสื้อ ทีเชิร์ต (T-shirt) ส่วนต้นกำเนิดที่มาของชื่อนั้น ไม่เป็นที่ชัดเจน แต่ที่แน่นอนคือเพราะมาจากรูปร่าง ทรงของเสื้อที่มีลัษณะเป็นตัว "T"
และชัดเจนขึ้น เมื่อในกองทัพเรียกเสื้อชนิดนี้ว่า "training shirt" (เสื้อสำหรับฝึก) ซึ่งต่อมาจึงเรียกย่อว่า เสื้อ ทีเชิร์ต (T-shirt) กันจนติดปาก
ในปี 1932 ฮาวเวิร์ด โจนส์ขอให้บริษัทผลิตกางเกงในชื่อดังอย่าง จ็อกกี้ ผลิตเสื้อที่ซับเหงื่อสำหรับทีม ยูเอสซี ฟุตบอล ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นทีเชิร์ตยุคใหม่ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ทำให้ต่อมา ทีเชิร์ตได้กลายเป็นเสื้อยืดมาตรฐานทั่วไปในกองทัพสหรัฐอเมริกาและนาวิกโยธิน
ถึงแม้ว่าทีเชิร์ตจะเป็นชั้นใน แต่ทหารส่วนใหญ่ก็มักจะใส่โดยไม่มีเสื้อเชิร์ตนอก หรือยูนิฟอร์ม และด้วยเหตุที่ภาพที่ปรากฏต่อสาธารณะบ่อยขึ้น ที่นายทหารใส่เสื้อทีเชิร์ตกับกางเกงขายาว
และเป็นที่ยอมรับทีละน้อย จนเมื่อนิตยสารไลฟ์ LIFE ฉบับวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1942 ขึ้นหน้าปกทหารที่ใส่เสื้อทีเชิร์ต T-SHIRT และเขียนข้อความว่า "Air Corps Gunnery School"
ทำให้เกิดกระแสความนิยมอย่างแพร่หลายเป็นอย่างมากและรวดเร็ว โดยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เสื้อยืดทีเชิร์ต จึงได้เป็นที่นิยมใส่กันในหมู่วัยรุ่น ในขณะนั้น โดยไม่มีเสื้อเชิร์ตนอกคลุม
แต่ไม่ว่าอย่างไรคงไม่มีใครมานั่งสนใจว่าใครจะเป็นคนคิดก่อน เพราะเดี๋ยวนี้ใครๆ ก็มีและใส่เสื้อยืดกันทั้งนั้น
โดยถ้าพูดกันตามหลักฐานที่มี เสื้อยืดทีเชิร์ท ก็น่าจะถือกำเนิดขึ้นเป็นทางการ ราวๆ ปี ค.ศ.1945 เสื้อยืดเริ่มเป็นที่ยอมรับในวงกว้างจริงๆนั้น ก็มาจากวัฒนธรรมของอเมริกันโดยแท้จริง
โดยมีบันทึกไว้ว่า ในปี ค.ศ.1948 ผู้สมัครประธานาธิปดี โธมัส อี ดีเวย์ ได้ผลิตเสื้อยืดทีเชิร์ต สกรีนลาย"Dew It for Dewey" ขึ้น และได้รับการบันทึก


และยอมรับว่าเป็นเสื้อยืดสกรีนตัวหนังสือตัวแรกของโลก ที่มีการผลิตออกมา


ซึ่งปัจจุบันเสื้อยืดสกรีนตัวแรกของโลกนี้ ได้ถูกเก็บรักษาไว้ อยู่ที่สถาบันสมิทโซเนียน ประเทศสหรัฐอเมริกา
และต่อมาในยุคทศวรรษ 1950 ก็ได้ผลิตเสื้อยืดสกรีนทีเชิร์ต "I Like Ike" เพื่อสนับสนุน Dwight D.Eisenhower และเริ่มมีการใส่เสื้อยืดกันเดินตามท้องถนน ในหนังเรื่อง Street Car Name Desire
ที่นำแสดงโดยมาร์ลอน แบรนโด โดยออกฉายในปี 1951 และ Rebel Without a Cause นำแสดงโดยเจมส์ ดีน ในปีค.ศ.1955 ตอกย้ำภาพของคนรุ่นใหม่กับเสื้อยืดสีขาว กางเกงยีนส์รัดรูปเปรี๊ยะ
ทำเอาใครต่อใครแต่งตัวเลียนแบบดารากันเป็นแถว แต่ถึงอย่างนั้นก็ดี เสื้อยืดก็ยังเป็นแฟชั่นที่ดูไม่สุภาพ โดยส่วนตัวผมเห็นว่าเสื้อยืด สามารถใส่ได้ทุกโอกาส ไม่ว่าจะเสื้อยืดคอกลม เสื้อยืดคอวี
หรือเสื้อยืดมีปก ก็ตาม โดยบางงานหากไม่ต้องการอะไรที่เป็นทางการมาก เราอาจใส่เสื้อยืดแฟชั่นทับด้วยเบลเซอร์สักตัว ก็ดูดีได้ เสื้อยืด เปลี่ยนแฟชั่นเสื้อผ้าอย่างมากมายตั้งแต่ปี 1950
ด้วยความสะดวกสบายสวมใส่ง่ายในทุกโอกาส และสามารถสื่อถึงสิ่งต่างๆได้อย่างง่ายดาย เช่นการชุมนุม การต่อต้าน การทำกิจกรรมกลุ่มต่างๆ
โดยในยุคเริ่มแรกของการเกิด เสื้อยืดทีเชิ้ต คงไม่แตกต่างจากหนังมากนัก ในแง่ที่ว่า เสื้อยืดเป็นตัวแทนของการต่อต้านสังคม ความรู้สึกของ ‘ความไม่สุภาพ’ ของเสื้อยืดนั้นก็ยังติดตัวมันอยู่
จนถึงทุกวันนี้ และที่สำคัญเสื้อยืดสามารถสะท้อนความคิดและบุคลิกของผู้สวมใส่ได้เป็นอย่างดี ถามว่าเราดูคนจากรองเท้าที่ใส่ได้ไหม ก็ได้ครับ แต่ว่าเสื้อยืดราคาถูกกว่าหาซื้อง่ายกว่า

ฉะนั้นผมเชื่อว่า ถ้าเราอยากจะรู้จักวัยรุ่นสักคนในสมัยนี้ ต้องดูที่เสื้อยืดที่เขาใส่ ดูคำดูรูปที่อยู่บนเสื้อ เราก็จะรู้ได้ประมาณหนึ่งว่าเขาเป็นคนอย่างไร มันเป็นภาพสะท้อนความคิดของคนๆ หนึ่ง
ที่ต้องการสื่อความคิดของตัวเองได้ดีมาก
เสื้อยืดทีเชิ้ตเป็นเหมือนผ้าใบสีขาวที่รอคนมาเติมสีแต่ดีกว่าตรงที่เราใส่มันไปไหนมาไหนได้ ในยุคทศวรรษ 1960-1970 ยุค ที่ดนตรีร็อคทรงอิทธิพลอย่างมาก วงดนตรีต่างๆ
นำเอาเสื้อยืดมาสกรีนลาย ขายเป็นของที่ระลึกยามที่ออกทัวร์คอนเสิร์ต หรือใช้เป็นสัญลักษณ์ในการแบ่งหน้าที่ระหว่างคนดูกับทีมงานอย่างได้ผล เสียดายที่ไม่มีการจดบันทึกไว้ว่าใครเป็นคนริเริ่มทำ
โดยศิลปิน หลายๆ วงดนตรีขายเสื้อยืดได้พอๆ กับยอดขายอัลบั้ม อย่าง The Beatles หากว่า นับเอาจำนวนเสื้อที่เขาขายได้ทั้งหมด ทั้งละเมิดลิขสิทธิ์และถูกกฎหมายแล้วล่ะก็ เผลอๆ
ยอดขายอาจไม่ได้น้อยไปกว่ายอดอัลบั้มที่พวกเขาสามารถขายได้ ยุคแรกๆ ของทีเชิ้ตที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับวงการดนตรี ส่วนมากเป็นเสื้อของวงร็อคเกือบทั้งหมด
ไม่ว่าจะเป็น เดอะ โรลลิ่งสโตน (The Rolling Stone) เลด เซปลิน (Led Zeplin) บ๊อบ มาร์เลย์ (Bob Marley) จิมมี่ เฮ็นดริกซ์ (Jimmy Hendrix) เสื้อยืดทีเชิ้ตสกรีนลายสัญลักษณ์ของวงบางวง
กลายเป็นลายคลาสสิคที่ดีไซเนอร์หลายคนหยิบจับมาใช้จนทุกคนจำได้ ไม่ว่าจะเป็นลายปากแลบลิ้นของ เดอะ โรลลิ่งสโตน หรือว่ามงกุฎและลายธงชาติอังกฤษที่เรามักเห็นคู่กับวงเดอะเซ็กซ์
พิสทอลและวิเวียน เวสต์วู้ด (Vivienne Westwood)
ดนตรี และแฟชั่นก็ไม่เคยห่างกัน บางครั้งดนตรีและนักดนตรีก็เป็นตัวกำหนดรูปแบบของแฟชั่นของแต่ละยุคแต่ละ สมัยไปโดยปริยาย และทีเชิ้ตก็ไม่เคยหลุดเทรนด์ หลังๆ
คุณคงเริ่มสังเกตว่าทีเชิ้ตไม่ได้จำกัดวงอยู่แค่วงร็อคเท่านั้น ทีเชิ้ตรัดติ้วแบบที่ริกกี้ มาร์ตินใส่ก็ทำให้คนฮิตกันไปทั่ว หรือทีเชิ้ตสกรีนตัวหนังสือ ‘Britney Spear’ ที่แปะอยู่บนเสื้อของมาดอนน่า
ทำเอาใครต่อใครต้องหามาใส่ เสื้อยืดเป็นตัวบอกรสนิยมอย่างจงใจ
อย่างเช่น วงเดอะเซ็กซ์ พิสทอลและวิเวียน เวสต์วู้ด (Vivienne Westwood) ว่าไปแล้วเธอก็เป็นสัญลักษณ์หนึ่งของการผสมผสานระหว่างแฟชั่นและดนตรีเข้าด้วยกัน
ตั้งแต่ยุคแรกการเปลี่ยนชื่อร้านของเธอจาก ‘Let it Rock’ มาเป็น ‘Too Fast to Live Too young to Die’ สะท้อน ความคิดที่ได้รับมาจากฮิปปี้และดนตรีร็อคโดยตรง การเข้าไปมีส่วนสำคัญของการดังเป็นพลุแตกของเดอะเซ็ก พิสตอล
ที่สามีของเธอขณะนั้น (มัลคอม แมคลาเรน-Malcom McLaren) เป็นผู้จัดการวง ทำให้ภาพลักษณ์ของวิเวียน เวสต์วู้ดไม่เคยหลุดอกจากความเป็นพังค์ที่กอดเกี่ยวกับดนตรีอย่างแยกไม่ออก
หลังยุคทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา เสื้อผ้ายี่ห้อดังต่างๆ เริ่มหันมาสนใจกับตลาดทีเชิ้ต และแบบที่นิยมมากในยุคนั้นก็คือ เสื้อยืดทีเชิ้ตสีสกรีนโลโก้ปะติดกลางหน้าอก คาลวิน ไคลน์
เป็นตลาดไฮแบรนด์เจ้าแรกๆ ที่ทำให้เกิดกระแสนี้จนกระทั่งลามไปถึงเจ้าอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ลีวายส์ Mc Camel Lee
แต่ถ้าพูดถึงเสื้อยืดทีเชิ้ตสุดฮิตในหมู่นักร้องและศิลปินของอเมริกาไม่มีเสื้อยืดทีเชิ้ตไหน เกิน anti-bush-t-shirt ที่ขายอยู่ในเว็บไซท์ www.bant-shirt.com ไปได้
เพราะก่อตั้งโดยจุดประสงค์เพื่อต้องการรณรงค์และต่อต้านความไม่ชอบธรรมของ ท่านผู้นำที่ปิดหูปิดตาประชาชน แล้วทำตัวเหมือนพระเจ้าที่ชี้นิ้วกำหนดทุกอย่าง ในเว็บไซท์นี้จึงมีเสื้อยืดต่อต้านการเมือง
รณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อม และทีเชิ้ตส่งเสริมมนุษยชน ใครเห็นแล้วอยากทำล้อเลียนผู้นำบางประเทศก็ไม่น่าจะผิดแต่ประการใด
และล่าสุด ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าช่วงนี้เดินไปทางไหนก็เจอแต่คนใส่เสื้อยืดสกรีนคำว่า Thrasher ที่เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษมีไฟลุกท่วมกันให้ควั่ก แต่จะมีซักกี่คนที่จะรู้ที่มาของเจ้าเสื้อไฟลุกสุดฮอตตัวนี้มาว่าจากไหน วันนี้ Favforward

 

มีคำตอบมาให้แล้วครับ
เสื้อยืด Thrasher ที่เราเห็นตามท้องถนนนั้น เมื่อสังเกตดูดีๆจะเห็นว่าที่จริงแล้วมันเป็นคำว่าThrasher Magazineนั่นเอง ซึ่งด้วยความเด่นของโลโก้ลายไฟจึงทำให้เรามองข้ามคำว่าMagazineที่อยู่ด้านล่างไปซะอย่างงั้น
หนังสือThrasher Magazineนั้นก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1981 โดย Eric Swenson และ Fausto Vitello แต่เดิมนั้นมีจุดประสงค์เพื่อโปรโมตสเก็ตบอร์ดและอุปกรณ์เสริมภายใต้แบรนด์ของพวกเขาเพียงเท่านั้น
แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไปจึงได้กลายมาเป็นหนังสือที่เกี่ยวข้องกับแวดวงสเก็ตบอร์ดในแทบทุกด้าน ไม่เว้นแม้แต่กำหนดทิศทางของเทรนด์การแต่งกาย เรียกได้ว่าถ้าวงการแฟชั่นมี Vogue เป็นผู้นำ
หนังสือThrasher Magazineก็คือไบเบิ้ลของเหล่า Skater ทุกคนเลยทีเดียว และการมาของJake Phelps (ดำรงตำแหน่งเมื่อปีค.ศ.1993) บรรณาธิการสุดกวนที่ช่วยทำให้ภาพลักษณ์ของหนังสือเล่มนี้เป็นมากกว่าหนังสือสเก็ตธรรมดาๆทั่วไป
ด้วยการออกแบบเครื่องแต่งกายอันมีแรงบันดาลใจมาจากความดิบ เท่ ของกีฬาชนิดนี้ ส่งผลให้เสื้อยืดของThrasher Magazineได้รับความนิยมในหมู่นักสเก็ตตั้งแต่ยุค 80เป็นต้นมา ทำให้ยอดจำหน่ายเสื้อยืดลายนี้ อาจจะมากกว่ายอดจำหน่ายนิตยสารด้วยซ้ำไป
ในปัจจุบันด้วยเทรนด์การแต่งกายที่เน้นความเป็น Street Wear มากยิ่งขึ้น เสื้อผ้า รองเท้า เครื่องประดับ ที่แต่เดิมจะเป็นที่นิยมเฉพาะกลุ่มได้เข้ามามีบทบาทในวงการแฟชั่นของผู้คนทั่วไปตั้งแต่รองเท้า Adidas Superstar , Stan Smith ไปจนถึงเสื้อผ้าแนว Skate Wear ก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ทางแบรนด์จึงไม่พลาดที่จะออกคอลเล็คชั่นประจำฤดูร้อน 2016 มาให้ชาวสเก็ตได้สะสมกัน ซึ่งเสื้อยืดสกรีนลายตัวอักษรไฟลุกก็อยู่ในคอลเล็คชั่นนี้นั่นเอง


นอกจากเสื้อยืดสกรีนลายตัวอักษรไฟลุกที่ฮิตถึงขั้น Justin Bieber และ Rihanna หยิบไปใส่ ซึ่งภายหลัง Jake Phelps บ.ก.สุดกวนของนิตยสารได้ออกมาบอกว่าทางแบรนด์ไม่ได้เป็นคนส่งไปให้เหล่าคนดังใส่ เพราะบรรดาตัวจริงที่คู่ควรจะใส่นั้นอยู่บนท้องถนน(พวกนักสเก็ต)เสียมากกว่า(อารมณ์ประมาณต่อว่าพวกที่ใส่ตามกระแส) ในคอลเลคชั่นนี้ยังมีไอเท็มเด็ดๆอย่าง เสื้อยืดที่ออกแบบลายโดย Mark Gonzales นักสเก็ตบอร์ดระดับตำนานอีกด้วย

รู้แบบนี้แล้วเจ้า เสื้อยืดสุดฮอต ตัวนี้ที่อยู่ในมือก็ดูมีเรื่องราวขึ้นมาเลยใช่ไหมครับ

สำหรับร้านค้าที่ต้องการเป็นตัวแทน จำหน่ายเสื้อยืด อยากเปิด ร้านสกรีนเสื้อยืด อยากทำธุรกิจเกี่ยวกับ เสื้อแฟชั่น อยากออกแบบ ลายสกรีน หรือต้อการ สร้างแบรนด์เสื้อผ้า เป็นของตัวเอง สามารถติดต่อมาที่

Line ID : 0896962966
Facebook : https://www.facebook.com/infinity.t.shirt
Email : thainwish.ogn@gmail.com

 

Visitors: 3,331,551